หัวบล็อก

ยินดีต้อนรับสู้เว็บบล็อก...(จ๊อบ ศุภฤกษ์)...ในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ...ผู้เข้าชมสามารถแวะเยี่ยมชมรายละเอียดและดูเนื้อหาเพิ่มเติมของตัวเองเพื่อการศึกษาได้ เชิญรับชมประวัติของเจ้าของเว็บบล็อกได้ครับ

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

สุดท้ายก็ต้องยอม FIFI - [Official MV]

คุณธรรม 8 ประการ


คุณธรรม ประการ

คุณธรรม 8 ประการ
หัวใจของการเรียนการสอน คือ การที่นักเรียนได้สัมพันธ์และสัมผัสกับสรรพสิ่งที่อยู่ภายในตัวเองและรอบตัว
นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำ  ฝึกวัดและประเมิน ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ได้รับการฝึกหัด ขัดเกลาทั้งกาย วาจา ใจและได้เรียนในบรรยากาศที่ปลุกฝัง ปลุกเร้าจินตนาการสร้างเสริมสุนทรียภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนการสอนไว้ว่า
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะมุงปลูกฝังด้านปัญญา
พัฒนาการคิดของผู้เรียน ให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณแล้ว
ยังมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลุกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง
เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา เป็นงานที่ผู้บริหารสถานศึกษา
จะต้องจัดในหลายด้าน ตั้งแต่วัสดุครูภัณฑ์ อุปกรณ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ
กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้
รวมทั้งเทคนิคกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
การควบคุม กำกับ ติดตาม  การนิเทศการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามแนวทางที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้อธิบายว่า
การจัดการเรียนการสอนยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
และบูรณาการตามความเหมาะสม มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน
ฝึกทักษะกระบวนการคิด ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงาม ครูต้องจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
และสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างการเรียนรู้ ประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย
รับส่งเสริมการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มีการวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสม
ประเวศ วะสี ได้อธิบาย กระบวนการเรียนรู้ว่าเป็นกระบวนการทางปัญญามี
10 ขั้นตอน คือ
1) การฝึกสังเกต
2) การฝึกบันทึก
3) การฝึกนำเสนอ
4) การฝึกฟัง
5)การฝึกปุจฉา
6) การฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม
7)การฝึกค้นหาคำตอบ
8) การวิจัยเพื่อสร้างความรู้
9)การฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ
10)การฝึกเขียนเรียบเรียง

คำอธิบายรายวิชา



     
         ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุง นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
   
           1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
   
           2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
   
           3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
   
           4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
   
           5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
   
           6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
   
           7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
   
           8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
   
           9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
   
           10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
    11. 
สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. 
ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน
     
เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)
วิธีสอน
     
ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน